หลักการและเหตุผล
จากข้อตกลงร่วมกันขององค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ที่กำหนดเป้าหมายให้ทุกประเทศกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายใน พ.ศ. ๒๕๖๓ (ค.ศ.๒๐๒๐) ประเทศไทยได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ และจัดทำแผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายใน พ.ศ. ๒๕๖๓ (ค.ศ.๒๐๒๐) ขึ้น โดยกำหนดเป้าหมาย ไม่มีคนและสัตว์เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้าอย่างยั่งยืน โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่รุนแรง เมื่อป่วยแล้วไม่มียารักษา จะเสียชีวิตทุกราย ซึ่งในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีมีผู้เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2552 จำนวน 1 ราย และพบเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ทุกปี ระหว่างปีพ.ศ. 2552-2555 พบ 10, 7, 5, และ 3 ตัวตามลำดับ นอกจากจะทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านสาธารณสุข และทางด้านเศรษฐกิจแล้ว หากโรคแพร่ระบาดออกไปมากจะกลายเป็นวิกฤติ และเกิดความเสียหายต่อประเทศอย่างประเมินค่าไม่ได้ รวมทั้งหากมีข่าวการเกิดโรคแพร่ออกไป ย่อมส่งผลกระทบถึงการท่องเที่ยว นอกจากนี้จากการสำรวจสัตว์ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีปี 2554 มีสุนัขและแมวจำนวน 133,668 ตัว เป็นสุนัขและแมวไม่มีเจ้าของ จำนวน 35,408 ตัว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ในจังหวัดนนทบุรีนับถือศาสนาพุทธ ใจบุญ รักสัตว์ จึงมักมีผู้นำอาหารไปเลี้ยงสุนัขจรจัดในบริเวณที่สาธารณะ วัด หน่วยงานของรัฐ ที่เอกชนรกร้าง หรือข้างทาง ทำให้มีสุนัขจรจัดที่มีผู้เลี้ยงดูให้อาหารมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น เกิดมลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม ไม่น่าอยู่อาศัย ไม่ปลอดภัย เกิดปัญหาโรคระบาดสัตว์สู่คน สร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนทั่วไป จึงมีผู้ร้องเรียนกรณีสุนัขจรจัดเหล่านี้เป็นจำนวนมาก หากดำเนินการจับทำลายสุนัขเหล่านั้น จะเกิดกระแสต่อต้านจากประชาชน และเมื่อฝูงเดิมถูกทำลายไปจะมีสุนัขฝูงใหม่เข้ามาอยู่อาศัยแทน เป็นการสร้างปัญหาอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องควบคุมจำนวนสัตว์พาหะนำโรคให้อยู่ในปริมาณที่ดูแลได้ และได้ประโยชน์จากสัตว์มากกว่าโทษ เช่น เป็นเพื่อนคู่ใจ ช่วยกำจัดหนู เฝ้าของช่วยเหลือเวรยาม โดยจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่เข้าดำเนินการใช้ไม้เท้าฉีดยาสลบ, เป่าลูกดอก หรือยิงยาสลบ เพื่อบังคับสุนัขจรจัดที่จับไม่ได้ นำมาผ่าตัดทำหมันถาวรทั้งเพศผู้และเพศเมีย เป็นการลดจำนวนประชากรสัตว์ และลดความก้าวร้าว ใช้วิธีการคุมฝูงสัตว์ ควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าโดยการฉีดวัคซีน ดูแลสุขภาพถ่ายพยาธิกำจัดเห็บหมัด ชันสูตรโรคสัตว์ ขึ้นทะเบียนสุนัข หากไม่มีผู้ใดรับผิดชอบดูแล ก็จะจัดหาสถานที่ให้อยู่ใหม่ รวมทั้งประชาสัมพันธ์เสริมสร้างความรู้ การยอมรับเต็มใจให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมรับผิดชอบสุนัข โดยจัดตั้งเครือข่ายอาสาเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ ตามความต้องการของประชาชนผู้เลี้ยงสุนัขในพื้นที่
ดังนั้นเพื่อขับเคลื่อนการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าของจังหวัดนนทบุรีให้ครบทุกพื้นที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนนทบุรี จึงได้จัดทำ โครงการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าจังหวัดนนทบุรี ร่วมกับสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ขึ้น วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วม เป็นเครือข่ายอาสาเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะดูแลสุขภาพสัตว์ เห็นคุณค่าชีวิตสัตว์ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี
2. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงบริการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า และแก้ปัญหาสุนัขจรจัดในชุมชนของจังหวัดนนทบุรีอย่างสันติวิธี
3. เพื่อพัฒนาให้ประชาชนในชุมชน และประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเลี้ยงสัตว์
4. เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือนธันวาคม 2555 – มกราคม 2556 (หน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ 9 วัน)
สถานที่ดำเนินการ หน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ในวัดและชุมชน จังหวัดนนทบุรี จำนวน 9 แห่ง
กลุ่มเป้าหมาย ผู้เลี้ยงสุนัข และประชาชนทั่วไป
เป้าหมาย
1. จำนวนสุนัขและแมวได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ผ่าตัดทำหมัน ดูแลสุขภาพ ถ่ายพยาธิกำจัดเห็บหมัด จำนวน 9,000 ตัว 2. สร้างเครือข่ายอาสาเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า ตามความต้องการของประชาชนผู้เลี้ยงสุนัขในพื้นที่ 9 แห่ง ไม่น้อยกว่า 9 คน งบประมาณ สนับสนุนจากสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ผู้รับผิดชอบ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนนทบุรี ผลที่คาดว่าจะได้รับ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ
1. สามารถดูแลตนเองและชุมชนให้ปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า
2. มีแหล่งช่วยเหลือด้านโรคระบาดสัตว์สู่คน เมื่อเกิดปัญหาวิกฤต
3. สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการดูแลตนเอง และสัตว์เลี้ยง ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่เป็นปัญหาชุมชน สังคม 4. มีความสุขที่ได้ร่วมกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภาพในพิธีเปิดโครงการ {gallery}news/2555/news/5513/1-ayuthaya:120:100:0:0{/gallery} ภาพการปฏิบัติงานพื้นที่โครงการ {gallery}news/2555/news/5513/2-lahan:120:100:0:0{/gallery} {/tab}
รายละเอียดโครงการ
ภาพพิธีเปิดโครงการ
ณ โรงแรมแคนทารีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาพการปฏิบัติงานพื้นที่
ณ วัดละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี